เมนู

ชื่อว่าเป็นอิสริยฐานะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า
หมายเอาในอรรถว่า อัชฌัตตัชฌัตตะ. ในการกำหนดอัชฌัตตะเหล่า
นั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺววตฺถาเน - ในการกำหนดอัชฌัตตะ.
คำว่า วตฺถุนานตฺเต ได้แก่ ในความเป็นต่างๆ แห่งวัตถุทั้งหลาย,
อธิบายว่า ในวัตถุต่าง ๆ.
ในที่นี้ ถึงแม้ภวังคจิตอันเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ คือชวนะ
ท่านก็เรียกว่า วัตถุ เพราะเป็นฐานที่เกิดขึ้นดุจหมวด 5 แห่งปสาทะ
มีจักขุปสาทะเป็นต้นฉะนั้น. แม้อาวัชชนจิต ก็พึงทำให้เป็นที่อาศัย
ของวัตถุนั้นได้เหมือนกัน.

16. อรรถกถาโคจรนานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย โคจรนานัตตญาณ


คำว่า พหิทฺธา - ภายนอก ความว่า ในอารมณ์แห่งญาณ
เหล่านั้นอันมีในภายนอก จากธรรมอันเป็นอัชฌัตตัชฌัตตะ 6
คำว่า โคจรนานตฺเต - ในความต่าง ๆ แห่งโคจร ได้แก่
ในความต่าง ๆ แห่งวิสยะคืออารมณ์.

17. อรรถกถาจริยานานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย จริยานานัตตญาณ


คำว่า จริยาววตฺถาเน ในการกำหนดจริยา ความว่า ในการ
กำหนดจริยาทั้งหลาย คือวิญญาณจริยา อัญญาณจริยา และญาณจริยา.
อาจารย์บางพวกทำรัสสะเสียบ้าง แล้วสวดว่า จริยววตฺถาเน.

18. อรรถกถาภูมินานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย ภูมินานัตตญาณ


คำว่า จตุธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม 4 ความว่า
ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ 4 ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย
14 มีธรรมในกามาวจรภูมิเป็นต้นหมวดละ 4.
ก็คำว่า ภูมิ - ภาคพื้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าปฐวีแผ่นดิน
ดุจในประโยคว่า เงินทองทั้งที่มีอยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ1
เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่าวิสัย - สถานที่ ดุจในประโยคว่า ลูกเอ๋ย
เจ้าอย่าซ่องเสพภูมิสถานอันไม่สมควร2 เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า
1. สํ.ส. 14/413. 2. ขุ.ชา. 27/863.